Author Archives: admin

ทำไมลูกค้าถึงไม่มีวันเข้าเว็บไซต์ของคุณ? และ 6 คำแนะนำแก้ปัญหาให้หายขาด!

1. ชอบใช้คอนเทนต์เก่าๆ ผิดเป็นประจำ ไม่น่าเชื่อถือ
ไม่มีใครเชื่อถือเว็บไซต์ที่เปิดมาแล้วเจอแต่ข้อมูลเก่าๆหรอก ฉะนั้นต้องขยันป้อนคอนเทนท์ที่สดใหม่ถูกต้อง ถ้าคัดลอกคอนเทนท์จากแหล่งอื่น ก็ต้องมีแหล่งอ้างอิงเสมอ หรือถ้าคุณไม่ได้อัพเดทเว็บไซต์เป็นประจำ ก็อย่าใส่วันที่ลงไปเลย

2. ไม่รู้จักการสร้างสังคมออนไลน์
เพราะเว็บไซต์ไม่ใช่แค่เปิดอ่านแล้วเสพคอนเทนต์แล้วจบ แต่ยังเป็นพื้นที่ให้คนได้พูดคุย ไลค์ แชร์ได้อย่างอิสระ ทำกิจกรรมให้เกิดความสัมพันธ์ในชุมชนและตัวธุรกิจของคุณด้วย การมีเว็บบอร์ด ห้องแชทรูม ช่วยสร้างคอนเทนต์ให้เรา เกิดชุมชนในเว็บไซต์ได้

3. ขายของผ่านเว็บไซต์ไม่เป็น
ถ้าคิดแค่ว่าเว็บไซต์เป็นแค่แหล่งข้อมูลหรือไว้ทำโปรแกรมมิ่ง คุณอาจคิดผิด เพราะทุกเว็บไซต์สามารถเป็นแหล่งทำเงินได้ ลองเสนอสินค้าและบริการที่กำลังเป็นทที่นิยมขายดี ยิ่งแบรนด์ของคุณมีสาวกเข้าเว็บไซต์เข้ามาดูเป็นประจำแล้ว สินค้ายิ่งขายดี สร้างรายได้ให้ธุรกิจอีกทาง

4. สื่อสารกับลูกค้าบนเว็บไซต์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น
เพราะยุคที่ผู้คนใช้อินเตอร์เน็ตเสพย์คอนเทนต์ผ่านมือถือกันหมดแล้ว ยิ่งเฉพาะคนไทยที่เฉลี่ยแล้วมีสมาร์ทดีไวซ์มากกว่าหนึ่งเครื่อง ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราและหาข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ใช่แค่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ฉะนั้นการโต้ตอบกับคนที่เข้ามาในเว็บไซต์ได้ทันเวลา แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วก็จะทำให้ธุรกิจของเราได้เปรียบ

5. ไม่ยอมปรับแต่งเว็บไซต์ให้เข้ากับผู้ใช้
อย่าคิดว่าคนที่เข้ามาดูเว็บไซต์ของเราจะมีพฤติกรรมนิสัยเหมือนๆกัน เพราะต่างคนก็มีความชอบ พฤติกรรมการเล่นอินเตอร์เน็ตต่างกัน ฉะนั้นต้องเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้เว็บไซต์แต่ละคน ปรับแต่งรูปแบบเว็บไซต์และทำคอนเทนต์เข้ากับพฤติกรรมและความสนใจของแต่ละคนเป็นพิเศษ แม้แต่ให้ลูกค้าได้ปรับแต่งสินค้าได้เอง ให้ลูกค้ารู้สึกพิเศษ ประทับใจ และเป็นส่วนตัว

6. เว็บไซต์ใช้งานไม่สะดวกและเข้าถึงยาก
เช่นถ้าใครเปิดเว็บไซต์ของคุณบนมือถือแล้วเปิดไม่ได้ หรือใช้เวลาโหลดนาน เขาก็ออกจากเว็บไซต์ของคุณทันที ฉะนั้นอย่าเสียโอกาส ทำให้เว็บไซต์ดูง่าย ถ้ามีเนื้อหาหลากหลายก็แบ่งหน้าเพจเป็น 3 คอลัมน์ ใช้รูปภาพและไอคอนแทนตัวหนังสือ แต่ต้องไม่ใหญ่จนโหลดช้า ตัวอักษรต้องอ่านสบายตา ใช้งานเว็บไซต์ง่าย รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน มี FAQ คอยแก้ปัญหาการใช้งานด้วย
แต่ไม่ใช่ว่าเน้นการใช้งานง่ายเพียงอย่างเดียว ต้องคำนึงถึงความสวยงามด้วย จะช่วยให้คนมั่นใจที่จะซื้อสินค้าใช้บริการมากขึ้น เพิ่มสินค้าที่ขายให้เยอะอย่างน้อย 20-30 แบบ ใส่ข้อมูลของสินค้าให้ครบ มีรูปถ่ายสินค้าหลายๆมุม เพิ่มโอกาสการค้นหาเจอใน Google

และเว็บไซต์ของคุณก็พร้อมลุยทำธุรกิจออนไลน์ได้ไม่ยาก! สนใจบริการ รับทำเว็บ ให้ goodspixel ดูแลคุณ

แหล่งที่มา

6 องค์ประกอบที่จะทำให้คนเข้าเว็บไซต์ จากหนังสือ “การตลาดออนไลน์ที่ใช่ มีแต่กำไร ไม่มีขาดทุน”

เพราะในปัจจุบัน เวลาเราอยาก จะซื้ออะไร ก็พิมหาเอาใน กูเกิ้ล
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งหลาย ต้องดูสินค้าตัวเองกันให้ดี ว่าลูกค้าเราเป็นใคร
ก็คิดkeyword ใช้เรียกสินค้าเรา เพื่อไปลงโษณาในกูเกิ้ล Adword แต่ทว่า
ถ้าKey word ที่เราระบุนั้นใครๆเขาก็ใช้กันหมด รับรองแพงแน่ๆครับ
วิธีทำให้โฆษณาถูกลงมีหลายวิธีครับ เช่น ทำเว็บไซต์ให้รองรับทุกหน้าจอ
เว็บไซต์มีเนื้อหาที่ทำขึ้นเอง หรือถ้าเราขายสินค้าเฉพาะกลุ่มอยู่แล้ว
ลองนึกตามนี้ดูครับ
สินค้าเราคืออะไร
ลูกค้าเราเป็นใคร
คุณสมบัติ ลักษณะเด่นของสินค้า
ยกตัวอย่างเช่นเราขาย จิลเวอรรี่
สินค้าเราคือ พลอยสีแดง
ลูกค้าเราเป็นใคร ลูกค้าเราคือคนที่เกิดราศีมีน
คุณสมบัติ ใส่แล้วเสริมดวงให้ร่ำรวย
Keyword เลยออกมาเป็น พลอยสีแดงสำหรับราศีมีนใส่แล้วร่ำรวย
ซึ่งเวลาไปลงโฆษณา นอกจากจะไม่แพงแล้ว ยังติดหน้าแรกง่ายๆอีกด้วย
หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ

รู้หรือไม่จากข้อมูลการสำรวจผู้บริโภคส่วนใหญ่
จะชี้ให้เห็นว่าประสบการณ์ในใช้งานเว็บไซต์บนมือถือที่ไม่ดีนั่น
มีปัจจัยอะไรกันบ้าง ไปดูกัน

1 ข้อมูลการติดต่อที่ล้าสมัย และ ไม่มีที่อยู่หรือเวลาทำการ
2 ข้อมูลสินค้าที่ไม่มีมากพอ
3 การนำเสนอบนเว็บไซต์ดูไม่เป็นมืออาชีพ
4 เว็บไซต์ไม่แสดงผลรองรับมือถือ

สิ่งเหล่านี้แก้ไขได้ง่ายๆเลยล่ะ ด้วยตัวคุณเอง
แต่ถ้าไม่มีเวลาทำ หามืออาชีพ รับทำเว็บ ออกแบบเว็บไซต์ มาทำแทนคุณจะดีกว่า
แล้วคุณเอาเวลาไปพัฒนาธุรกิจคุณให้แข็งแกร่งขึ้นได้อีก

ขอขอบคุณ
http://marketingland.com

ศาสตร์ของ SEO เป็นสิ่งที่ใครหลายคนอยากจะรู้ รู้เพื่อรู้ใจ Google ว่าการกวาดข้อมูลเนื้อหาเพื่อจัดอันดับนั้นมีหลักการคิดอย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีการเผยแพร่ความรู้จากเหล่าผู้รู้ แต่ก็ไม่ใช่จากปากของ Google เอง แต่นี่คือเวอร์ชันล่าสุดที่ Google ปล่อยออกมาให้ผู้ที่สนใจศึกษาด้าน SEO ได้อ่านกันโดยเฉพาะ ซึ่งจะเรียกเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ที่ปล่อยแบบจัดเต็มขนาดนี้

เอกสารฉบับนี้ใช้ชื่อว่า Search Quality Rating Guidelines โดยที่บอกว่าเป็นครั้งแรกๆ ที่จัดเต็ม เพราะก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่เอกสารนี้มาบ้างแล้วในปี 2008, 2011, 2012 และ 2013 แต่ทุกปีที่กล่าวมาล้วนแล้วเป็นฉบับย่อๆ แทบทั้งสิ้น

มาในปีนี้ 2015 Google เองได้ตัดสินใจที่จะเผยแพร่ข้อมูลทุกสิ่งอย่างเกี่ยวกับการจัดอันดับการค้น หา ลงใน Guideline ที่มีความหนาถึง 160 หน้า โดยทาง Google เผยถึงการให้ข้อมูลแบบไม่ได้ให้กันเล่นๆ ครั้งนี้ว่า เราอยากให้คนเข้าใจถึงกระบวนการในการตัดสินใจก่อนที่จะเรียงเป็นอันดับจาก การบอกเล่าของเราเอง

เนื้อหาภายในเมื่อลองเข้าไปดูในสารบัญแล้วก็จะแยกเป็น 4 ส่วนคือ ภาพรวมทั้งหมด, เรื่อง Page Quality, ความเข้าใจถึงโมบายล์, เรื่อง Rating และการใช้ Evaluation Platform

ขอขอบคุณ
http://googlewebmastercentral.blogspot.com/2015/11/updating-our-search-quality-rating.html

เมื่อรัฐบาลกำหนดให้ SMEs มีบัญชีเดียว เพื่อความโปร่งใสในการชำระภาษี โดยไม่ตามเก็บภาษีย้อนหลัง ซึ่งนโยบายนี้ได้หมายรวมถึงการค้าขายในโลกออนไลน์ด้วย ทั้งการจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา ได้กำหนดรายได้ที่ต้องเสียภาษีไว้ดังนี้

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ต้องนำเงินได้จาก e-Commerce ไปรวมคำนวณ กับเงินได้จากแหล่งอื่นถ้ามี เช่น เงินเดือน ดอกเบี้ย โดยยื่นแบบ แสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน ของปี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป
เงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท ได้รับยกเว้น
เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท อ้ตรา 5%
เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท อัตรา 10%
เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท อ้ตรา 15%
เงินได้สุทธิ 750,001-1,00,000 บาท อ้ตรา 20%
เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท อ้ตรา 25%
เงินได้สุทธิ 2,000,001-4,000,000 บาท อ้ตรา 30%
เงินได้สุทธิ 4,000,000 ขึ้นไป อ้ตรา 35%
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ณ ที่ใด ๆก็ตาม ต้องนำรายได้ จากการประกอบกิจการ มารวมคำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หากกิจการขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี โดยยื่นแบบ แสดงรายการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
รายได้ 1-300,000 บาท ยกเว้น
รายได้ 300,001-1,000,000 บาท 15%
รายได้ 1,000,001 บาทขึ้นไป 20%
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม
ที่มาข้อมูล: กรมสรรพากร

อีกหนึ่งผลการสำรวจที่ตอกย้ำว่านักการตลาดมีแผนเทเงินลงโฆษณาในสื่อดิจิทัลมากกว่าสื่อดั้งเดิม ความน่าสนใจคือการศึกษาของ BIA/Kelsey พบว่าเทรนด์นี้มีความแจ่มชัดมากในสหรัฐฯเพราะเงินสะพัดในตลาด Digital marketing มีโอกาสสูงที่จะแซงหน้าวงการโฆษณาสื่อเดิมในอีก 2 ปีนับจากนี้

นักเศรษฐศาสตร์ของ BIA/Kelsey ระบุไว้ในรายงานเรื่อง US Local Advertising Forecast 2017 ว่าภายในปี 2018 ตลาดโฆษณาบนอุปกรณ์พกพาหรือ mobile advertising สำหรับตลาด local ในท้องถิ่นจะเพิ่มขึ้นจาก 4.42 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ (2016) เป็น 5.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปีหน้า (2017)

หากมองที่ธุรกิจโฆษณาดั้งเดิมในท้องถิ่น นักวิเคราะห์มองว่าตลาดจะมีเม็ดเงินสะพัดน้อยลงจาก 1.01 แสนล้านเหรียญในปีนี้ เหลือ 9.86 หมื่นล้านเหรียญในปีหน้า

Mark Fratrik นักวิเคราะห์อาวุโสของ BIA/Kelsey อธิบายว่าภาวะเพิ่มขึ้นและถดถอยที่สวนทางกันเกิดขึ้นเพราะรายได้ในกลุ่มสื่อสิ่งพิมพ์ที่ลดลง ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และจดหมาย direct mail ขณะที่รายได้ในธุรกิจโฆษณาบนอุปกรณ์โมบายล์และโซเชียลขยายตัว

นอกจากงานวิจัยของ BIA/Kelsey บริษัทเทคโนโลยีการตลาดอย่าง Kenshoo และ Merkle ยังแสดงผลวิเคราะห์ในทางเดียวกัน โดยเฉพาะเม็ดเงินหมุนเวียนใน Facebook ที่เชื่อกันว่านักการตลาดจะเทเงินมากขึ้นอีก 14% ในไตรมาส 3 ปีนี้ (ข้อมูลจาก Kenshoo) คาดว่า Facebook จะครองส่วนแบ่ง 42% ของโฆษณาที่ขายคลิกทั้งหมด

Kenshoo เชื่อว่ารายได้จากธุรกิจวิดีโอโฆษณาของ Facebook จะเพิ่มขึ้นกว่า 155% เบ็ดเสร็จแล้วเฉพาะไตรมาส 3 ปีนี้ Facebook จะมีเงินรายได้เพิ่มมากกว่า 61%

ตัวเลข 61% นี้ยังไม่สูงเท่าที่ Merkle ประเมินไว้ โดย Merkle ประเมินไว้ 63% ซึ่งอัตราเติบโตนี้เกิดขึ้นในยามที่ต้นทุนค่าโฆษณาต่อคลิกหรือ costs per click นั้นลดลง แต่ต้นทุนการชมหรือ cost per thousand impressions นั้นเพิ่มขึ้น

ขอขอบคุณที่มา
http://thumbsup.in.th
https://www.prdaily.com/socialmedia/Articles/21674.aspx

ปี 2017 จะเป็นศึกยักษ์ชนยักษ์ระหว่าง Amazon กับ Alibaba โดยทั้งสองฝ่ายเริ่มเข้ามาบุกตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว
ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ซีอีโอกลุ่มบริษัท Efrastructure Group ผู้ร่วมก่อตั้ง TARAD.com และนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย กล่าวว่าผู้ประกอบการรายย่อยจะต้องหาทางสร้างความแตกต่างไปจากธุรกิจคู่แข่งรายใหญ่โดยสิ้นเชิง ขณะที่ E-Marketplace จะหดตัวลงอย่างแน่นอน และจะมีสินค้าจีนทะลักเข้ามาในไทยและอาเซียนมากขึ้น
ทั้ง Amazon และ Alibaba ต่างก็ใช้กลยุทธ์ Omnichannel บุกทั้งตลาดออนไลน์และออฟไลน์ โดย Amazon ตั้งเป้าว่าจะเปิดให้บริการร้านสะดวกซื้อ Amazon Go ในปีนี้ ขณะที่ Alibaba เดินเกมด้วยการขอซื้อกิจการของกลุ่มบริษัท Intime Retail เจ้าของธุรกิจห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ในจีน
เทรนด์โซเชียลคอมเมิร์ซ (Social Commerce) จะปรับรูปแบบไปสู่แชตคอมเมิร์ซ (Chat Commerce) พร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการทำธุรกิจ เช่น แชตบอต ระบบตอบข้อความอัตโนมัติ

สรุปภาพรวมปี 2016 เพื่อปูทางสู่ปี 2017
ก่อนหน้านี้ The Momentum ได้สรุปภาพรวมของสถานการณ์อีคอมเมิร์ซไทยในปี 2016 (เหตุการณ์ข้อที่ 85) ไว้แล้ว รวมทั้งข่าวความก้าวหน้าของ Amazon ที่เขย่าวงการค้าปลีกด้วยการเปิดตัวคอนเซ็ปต์ร้านค้าอัจฉริยะ Amazon Go บริการส่งสินค้าด้วยโดรน Amazon Prime Air
และผลกระทบจาก Amazon Effect ต่อห้างสรรพสินค้าในสหรัฐอเมริกา
แต่น้อยคนจะรู้ว่า Amazon ยังประสบความสำเร็จทางด้านการพัฒนาระบบของศูนย์กระจายสินค้าด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ทำระบบ Dynamic Pricing เพื่อปรับเปลี่ยนราคาสินค้าตามช่วงเวลา โดยใช้ Big Data Analytics และลงทุนในธุรกิจคลาวด์ที่ทำเงินมหาศาล ทำให้ Amazon ยังคงเป็นผู้นำในตลาดนี้ ข่าวที่ว่า Amazon เริ่มเข้ามาจับธุรกิจเดลิเวอรีอาหารสดในสิงคโปร์แล้ว จึงทำให้วงการค้าปลีกกังวลอยู่ไม่น้อย
ทางฝั่ง Alibaba เองได้ประกาศว่าจะปฏิวัติการค้าปลีกไปสู่รูปแบบใหม่ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยจะนำ Internet of Things, Big Data และเทคโนโลยีดิจิทัลอื่นๆ เข้ามายกระดับอุตสาหกรรม และจะรุกคืบเข้ามาในไทยหนักขึ้นเรื่อยๆ หลังจากร่วมมือกับรัฐบาลไทย ทั้งในด้านอีคอมเมิร์ซและธุรกิจสายฟินเทค (อ่านต่อ จะเกิดอะไรขึ้น? เมื่อแจ็ก หม่า ยกทัพ Alibaba บุกไทย)

CR. Themomentum

การทำ A/B Testing เป็นการทำ Experiment เพื่อทดสอบว่ารูปแบบ A กับ B อันไหนให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากัน ซึ่งโดยปกติแล้วการทำ A/B Testing เราสามารถกำหนดตัวแปร (Variable) ที่ใช้ในการทดสอบได้อย่างหลากหลาย มันเป็นการกำหนดว่าจะให้ A กับ B นั้นเป็นตัวแทนของอะไร แล้วค่อยจับมาเปรียบเทียบกัน

การทำ A/B Testing ที่ดีต้องไม่ลืมว่าเราจะต้องกำหนดตัวแปรขึ้นมาเพียงหนึ่งตัวต่อการทำ A/B Testing 1 ครั้งเท่านั้น เช่นถ้าเราทำ A/B Testing เพื่อทดสอบกลุ่มเป้าหมายระหว่างเพศชายกับเพศหญิง (A=ชาย B=หญิง) เราจะต้องควบคุมทุกอย่างที่เหลือให้เหมือนกันให้หมดเช่นแสดงโฆษณาที่มีหน้าตาเหมือนกัน ประมูลด้วยวิธีการเดียวกัน ปล่อยโฆษณาออกไปในเวลาเดียวกัน (ทำทุกอย่างให้เหมือนกันยกเว้นตัวแปรของการทดสอบนั่นคือเพศของกลุ่มเป้าหมายเท่านั้นที่ต่างกัน) เพราะไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าความแตกต่างที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องมาจากตัวแปรที่เรากำหนดเอาไว้หรือไม่

ด้านล่างนี้เป็น 6 ไอเดียที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าจะทำ A/B Testing ตัวแปรอะไรได้บ้าง โดยผมคัดจากสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะทำกันและผลลัพธ์ที่ได้นั้นคุ้มค่าแก่การทำ A/B Testing ครับ

1.กลุ่มเป้าหมายที่เห็นโฆษณา: เชื่อว่าเกือบทุกคนที่ทำ A/B Testing มักจะทำการทดสอบกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างแรกๆโดยการแบ่ง Ad set ตั้งแต่ 2 sets เป็นต้นไปเพื่อแยกกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มออกจากกัน จากนั้นก็ยิงโฆษณาตัวเดียวกันไปยังกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เมื่อทำการวัดผลลัพธ์ของแต่ละกลุ่มก็จะรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายกลุ่มใดที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากัน การทำ A/B Testing กับกลุ่มเป้าหมายเราสามารถทำได้ในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ สถานที่ ความสนใจ หรือแม้กระทั่งทำ A/B Testing กับ Custom Audience เช่นทำ A/B Testing เพื่อเปรียบเทียบว่าคนที่ Visited เว็บไซต์ในช่วง 7 วันล่าสุดกับ 14 วันล่าสุด กลุ่มไหนให้ผลลัพธ์ดีกว่ากันแต่ต้องระวังเรื่อง Duplicated Audience ให้ดีด้วย
2.ชิ้นงานโฆษณา: คำว่าชิ้นงานโฆษณาในที่นี้คือองค์ประกอบทั้งหมดของตัวโฆษณาที่เราแสดงให้กับกลุ่มเป้าหมายได้เห็น ซึ่งมันมีองค์ประกอบให้เราสามารถหยิบไปทำ A/B Testing ได้มากมายไม่ว่าจะเป็น รูปภาพของโฆษณา, Title, Caption, ปุ่ม Call to action เช่นเราอาจจะทำ A/B Testing เพื่อทดสอบว่าปุ่ม Call to action แบบใดที่ทำให้เกิด Engagement ดีที่สุดกับกลุ่มเป้าหมายหรือาจจะทดสอบว่ารูปภาพโฆษณาที่มีนางแบบถือสินค้ากับไม่มีนางแบบอันไหนมี CTR ที่ดีกว่ากัน
3.Placement ของโฆษณา: ตำแหน่งของโฆษณาก็กลายเป็นอีกหนึ่งจุดที่เราสามารถทำ A/B Testing ได้เช่นกัน แน่นอนว่าแต่ละตำแหน่งจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไปเช่นบางตำแหน่งมี Engagement ที่ดีกว่า, บางตำแหน่งมี Relevance Score ที่ถูกกว่า, บางตำแหน่งจ่ายราคา CPM ที่ถูกกว่า เราสามารถทำ A/B Testing เพื่อหาตำแหน่งโฆษณาที่ตอบโจทย์ Objective ของเราได้มากที่สุด

4.Bidding Type: เวลาทำ A/B Testing บางคนอาจจะไม่ได้นึกถึงการทดสอบรูปแบบ Bidding Type แต่จริงๆแล้วเราสามารถที่จะทำ A/B Testing เพื่อหา Bidding Type ที่ดีที่สุดกับเราได้ จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมเคยทำ A/B Testing พบว่าข้อ 4 นั้นมีประโยชน์มหาศาลมากๆ เราสามารถทำ A/B Testing เพื่อทดสอบว่า CPC หรือ CPM หรือ CPA รูปแบบไหนที่ดีกว่ากันจากนั้นก็ปล่อยแคมเปญแบบ Always-on (แคมเปญระยะยาว) ผลลัพธ์ที่ได้กลับมานั้นคุ้มค่ามากๆ ช่วยให้เราสามารถประหยัดค่าโฆษณาในระยะยาวไปได้มากโข หน้าที่ของเราที่ต้องทำ A/B Testing เพื่อหา Bidding Type ที่เหมาะกับแคมเปญของเรามากที่สุด

5.Optimization for ad delivery: เป็นการควบคุมพฤติกรรมในการแสดงโฆษณาของระบบ ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถทำ A/B Testing กับมันได้เช่นเดียวกัน เพราะการ Deliver โฆษณาแต่ละแบบจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมแตกต่างกันออกไปนั่นย่อมส่งผลต่อ Result ที่เราจะได้รับกลับมาด้วย ลองทำ A/B Testing โดยเลือกการ Optimization ให้แตกต่างกันแล้วดูว่าผลลัพธ์แบบไหนตรงตามความต้องการของเรามากกว่ากัน

6.ช่วงเวลาแสดงโฆษณา: แม้แต่ช่วงเวลาในการปล่อยโฆษณาก็สามารถทำ A/B Testing ได้เหมือนกัน เช่นการปล่อยโฆษณาในช่วงดึกๆ ตั้งแต่ตี 1 ถึง 6 โมงเช้าซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีคนเข้าใช้งาน Facebook ไม่เยอะ ซึ่งอาจจะไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่การแข่งขันอาจจะน้อยลงตามไปด้วยซึ่งอาจจะส่งผลให้ CPM และ CPC ลดถูกลงก็เป็นได้ อันนี้เป็นเพียงตัวอย่าง ลองทำ A/B Testing เพื่อหาช่วงเวลาที่ให้ Result ที่ดีที่สุดจากกลุ่มเป้าหมาย

CR.Hooktalk