6 ไอเดียตัวอย่างในการทำ A/B Testing ของโฆษณา Facebook

การทำ A/B Testing เป็นการทำ Experiment เพื่อทดสอบว่ารูปแบบ A กับ B อันไหนให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากัน ซึ่งโดยปกติแล้วการทำ A/B Testing เราสามารถกำหนดตัวแปร (Variable) ที่ใช้ในการทดสอบได้อย่างหลากหลาย มันเป็นการกำหนดว่าจะให้ A กับ B นั้นเป็นตัวแทนของอะไร แล้วค่อยจับมาเปรียบเทียบกัน

การทำ A/B Testing ที่ดีต้องไม่ลืมว่าเราจะต้องกำหนดตัวแปรขึ้นมาเพียงหนึ่งตัวต่อการทำ A/B Testing 1 ครั้งเท่านั้น เช่นถ้าเราทำ A/B Testing เพื่อทดสอบกลุ่มเป้าหมายระหว่างเพศชายกับเพศหญิง (A=ชาย B=หญิง) เราจะต้องควบคุมทุกอย่างที่เหลือให้เหมือนกันให้หมดเช่นแสดงโฆษณาที่มีหน้าตาเหมือนกัน ประมูลด้วยวิธีการเดียวกัน ปล่อยโฆษณาออกไปในเวลาเดียวกัน (ทำทุกอย่างให้เหมือนกันยกเว้นตัวแปรของการทดสอบนั่นคือเพศของกลุ่มเป้าหมายเท่านั้นที่ต่างกัน) เพราะไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าความแตกต่างที่เกิดขึ้นนั้นเนื่องมาจากตัวแปรที่เรากำหนดเอาไว้หรือไม่

ด้านล่างนี้เป็น 6 ไอเดียที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าจะทำ A/B Testing ตัวแปรอะไรได้บ้าง โดยผมคัดจากสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะทำกันและผลลัพธ์ที่ได้นั้นคุ้มค่าแก่การทำ A/B Testing ครับ

1.กลุ่มเป้าหมายที่เห็นโฆษณา: เชื่อว่าเกือบทุกคนที่ทำ A/B Testing มักจะทำการทดสอบกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างแรกๆโดยการแบ่ง Ad set ตั้งแต่ 2 sets เป็นต้นไปเพื่อแยกกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มออกจากกัน จากนั้นก็ยิงโฆษณาตัวเดียวกันไปยังกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เมื่อทำการวัดผลลัพธ์ของแต่ละกลุ่มก็จะรู้ว่ากลุ่มเป้าหมายกลุ่มใดที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ากัน การทำ A/B Testing กับกลุ่มเป้าหมายเราสามารถทำได้ในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็น เพศ อายุ สถานที่ ความสนใจ หรือแม้กระทั่งทำ A/B Testing กับ Custom Audience เช่นทำ A/B Testing เพื่อเปรียบเทียบว่าคนที่ Visited เว็บไซต์ในช่วง 7 วันล่าสุดกับ 14 วันล่าสุด กลุ่มไหนให้ผลลัพธ์ดีกว่ากันแต่ต้องระวังเรื่อง Duplicated Audience ให้ดีด้วย
2.ชิ้นงานโฆษณา: คำว่าชิ้นงานโฆษณาในที่นี้คือองค์ประกอบทั้งหมดของตัวโฆษณาที่เราแสดงให้กับกลุ่มเป้าหมายได้เห็น ซึ่งมันมีองค์ประกอบให้เราสามารถหยิบไปทำ A/B Testing ได้มากมายไม่ว่าจะเป็น รูปภาพของโฆษณา, Title, Caption, ปุ่ม Call to action เช่นเราอาจจะทำ A/B Testing เพื่อทดสอบว่าปุ่ม Call to action แบบใดที่ทำให้เกิด Engagement ดีที่สุดกับกลุ่มเป้าหมายหรือาจจะทดสอบว่ารูปภาพโฆษณาที่มีนางแบบถือสินค้ากับไม่มีนางแบบอันไหนมี CTR ที่ดีกว่ากัน
3.Placement ของโฆษณา: ตำแหน่งของโฆษณาก็กลายเป็นอีกหนึ่งจุดที่เราสามารถทำ A/B Testing ได้เช่นกัน แน่นอนว่าแต่ละตำแหน่งจะให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไปเช่นบางตำแหน่งมี Engagement ที่ดีกว่า, บางตำแหน่งมี Relevance Score ที่ถูกกว่า, บางตำแหน่งจ่ายราคา CPM ที่ถูกกว่า เราสามารถทำ A/B Testing เพื่อหาตำแหน่งโฆษณาที่ตอบโจทย์ Objective ของเราได้มากที่สุด

4.Bidding Type: เวลาทำ A/B Testing บางคนอาจจะไม่ได้นึกถึงการทดสอบรูปแบบ Bidding Type แต่จริงๆแล้วเราสามารถที่จะทำ A/B Testing เพื่อหา Bidding Type ที่ดีที่สุดกับเราได้ จากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมเคยทำ A/B Testing พบว่าข้อ 4 นั้นมีประโยชน์มหาศาลมากๆ เราสามารถทำ A/B Testing เพื่อทดสอบว่า CPC หรือ CPM หรือ CPA รูปแบบไหนที่ดีกว่ากันจากนั้นก็ปล่อยแคมเปญแบบ Always-on (แคมเปญระยะยาว) ผลลัพธ์ที่ได้กลับมานั้นคุ้มค่ามากๆ ช่วยให้เราสามารถประหยัดค่าโฆษณาในระยะยาวไปได้มากโข หน้าที่ของเราที่ต้องทำ A/B Testing เพื่อหา Bidding Type ที่เหมาะกับแคมเปญของเรามากที่สุด

5.Optimization for ad delivery: เป็นการควบคุมพฤติกรรมในการแสดงโฆษณาของระบบ ซึ่งแน่นอนว่าเราสามารถทำ A/B Testing กับมันได้เช่นเดียวกัน เพราะการ Deliver โฆษณาแต่ละแบบจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมแตกต่างกันออกไปนั่นย่อมส่งผลต่อ Result ที่เราจะได้รับกลับมาด้วย ลองทำ A/B Testing โดยเลือกการ Optimization ให้แตกต่างกันแล้วดูว่าผลลัพธ์แบบไหนตรงตามความต้องการของเรามากกว่ากัน

6.ช่วงเวลาแสดงโฆษณา: แม้แต่ช่วงเวลาในการปล่อยโฆษณาก็สามารถทำ A/B Testing ได้เหมือนกัน เช่นการปล่อยโฆษณาในช่วงดึกๆ ตั้งแต่ตี 1 ถึง 6 โมงเช้าซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีคนเข้าใช้งาน Facebook ไม่เยอะ ซึ่งอาจจะไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่การแข่งขันอาจจะน้อยลงตามไปด้วยซึ่งอาจจะส่งผลให้ CPM และ CPC ลดถูกลงก็เป็นได้ อันนี้เป็นเพียงตัวอย่าง ลองทำ A/B Testing เพื่อหาช่วงเวลาที่ให้ Result ที่ดีที่สุดจากกลุ่มเป้าหมาย

CR.Hooktalk

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *