แม่ค้าออนไลน์มีรายได้เท่าไร? ต้องเสียภาษี

เมื่อรัฐบาลกำหนดให้ SMEs มีบัญชีเดียว เพื่อความโปร่งใสในการชำระภาษี โดยไม่ตามเก็บภาษีย้อนหลัง ซึ่งนโยบายนี้ได้หมายรวมถึงการค้าขายในโลกออนไลน์ด้วย ทั้งการจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา ได้กำหนดรายได้ที่ต้องเสียภาษีไว้ดังนี้

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ต้องนำเงินได้จาก e-Commerce ไปรวมคำนวณ กับเงินได้จากแหล่งอื่นถ้ามี เช่น เงินเดือน ดอกเบี้ย โดยยื่นแบบ แสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน ของปี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป
เงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท ได้รับยกเว้น
เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท อ้ตรา 5%
เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท อัตรา 10%
เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท อ้ตรา 15%
เงินได้สุทธิ 750,001-1,00,000 บาท อ้ตรา 20%
เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท อ้ตรา 25%
เงินได้สุทธิ 2,000,001-4,000,000 บาท อ้ตรา 30%
เงินได้สุทธิ 4,000,000 ขึ้นไป อ้ตรา 35%
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ณ ที่ใด ๆก็ตาม ต้องนำรายได้ จากการประกอบกิจการ มารวมคำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หากกิจการขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี โดยยื่นแบบ แสดงรายการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
รายได้ 1-300,000 บาท ยกเว้น
รายได้ 300,001-1,000,000 บาท 15%
รายได้ 1,000,001 บาทขึ้นไป 20%
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม
ที่มาข้อมูล: กรมสรรพากร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *